Dof คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการถ่ายรูป

dof คืออะไร

Dof คือ การกำหนดความ ชัดลึก ชัดตื้น ของภาพถ่าย โดยการควบคุม รูรับแสง หรือ ค่า F ไปยังเซนเซอร์รับภาพของกล้อง Dof มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Depth of Field หรือ ความลึกของภาพ การที่เราเปิดค่ารูรับแสงกว้าง เช่น F/1.2 F/1.8 ก็จะได้ภาพที่มีระยะ ชัดตื้น ส่งผลให้ภาพดูมีมิติใกล้ไกล ทำให้พื้นที่ที่ไม่ถูกโฟกัสนั้นเบลอลง ถ้าหากเราเปิดรูรับแสงแคบ ค่า F สูง เช่น F/11 F/16 ทำให้แสงเข้ามาตกกระทบที่เซนเซอร์น้อยลง เราก็จะได้ภาพที่ชัดลึก ส่งผลให้ภาพของเรานั้นชัดทั้งภาพ Depth of Field เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ช่างภาพทั้งมือใหม่และระดับโปร เป็นเทคนิคที่พบได้บ่อยในภาพถ่าย Portrait Photography ในการสร้างมิติของภาพให้ตัวแบบนั้นโดดเด่นสร้างระยะชัด Dof จึงเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดเอกลักษณ์ของภาพถ่าย


รูรับแสงก็มีผลต่อ DoF ในรูป

DoF คือ ตัวกำหนดเอกลักษณ์ของภาพ และ ค่ารูรับแสง ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ภาพของคุณออกมาอย่างใจต้องการ ค่ารูรับแสงต่าง ๆ หรือที่เราเรียกว่า ค่า F ถ้าหากเราเปิดค่า F น้อย ก็คือเราเปิดรูรับแสงกว้าง จะได้ภาพที่มีระยะชัดตื้น หน้าชัดหลังเบลอ (F น้อย ชัดตื้น ส่วนที่ไม่ได้โฟกัสจะเบลอ) ถ้าเปิดค่า F สูง หรือ รูรับแสงแคบ จะได้ภาพชัดลึก (F มาก ชัดลึก ภาพชัดทั้งภาพตั้งแต่ข้างหน้าไปถึงข้างหลัง) เราจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ F/1.4 ไปจนถึง F/22 นั้น จะมี Depth of Field ที่แตกต่างกันไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มจากสิ่งที่ไม่ถูกโฟกัสจะเบลอ ไปจนถึง ภาพชัดทั้งหมด ค่า F จะสัมพันธ์กันระหว่างทางยาวโฟกัส และ ตัวแบบ
ซึ่งในบางครั้งเราจะเรียกว่า Bokeh


Effect of Circle of Confusion ก็มีผลให้เกิด DoF

DoF
DoF

เรียกสิ่งนี้ให้สั้นลง ว่า Circle of Confusion เรียกสั้น ๆ ว่า CoC เจ้าสิ่งนี้คืออะไร ถ้าหากเราจะเข้าใจว่า DoF คือ อะไรให้มากขึ้น ก็ต้องทำความเข้าใจกับ Circle of Confusion ด้วยเช่นกัน พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่ากลไกของการถ่ายภาพขึ้นรับแสงที่ส่องผ่านมายังกระจกและสะท้อนเข้ากับเซนเซอร์รับภาพ ตรงจุดนี้นี่แหละถ้าหากเราเปิดค่ารูรับแสงกว้าง (F กว้าง) ก็จะทำให้เกิดเส้นแสงที่ยิงตรงไปยังเซนเซอร์เป็นเส้นตรง ซึ่งแสงที่เข้ามาพอดีเป๊ะกับเซนเซอร์คือส่วนที่จะทำให้ภาพของเรานั้นชัดที่สุด โดยคำนวนจากระยะของภาพ และ วัตถุ ที่เราโฟกัส ถ้าหากเส้นแสงที่พุ่งเข้ามาและเลยจุดเซนเซอร์ไป หรือก็คืออาจจะเป็นฉากหลังภาพของคุณที่ไม่ได้ถูกโฟกัส เส้นแสงนั้นจะพุ่งเข้ามาแบบกว้างและจะทำให้เส้นแสงนั้นเบลอ ส่วนถ้าหากยังมีวัตถุอะไรก็ตามที่อยู่ข้างหน้าตัวแบบโดยที่เราไม่ได้โฟกัส ก็จะทำให้เส้นแสงที่ส่องมายังเซนเซอร์ฟุ้งกระจายและทำให้ภาพเบลอเช่นกัน

แล้วถ้าเป็นกรณีรูรับแสงแคบ (F สูง) ก็จะทำให้ภาพของเราชัดลึกหรือชัดทั้งภาพ แต่ปัจจัยในการเกิด หรือก็คือ Circle of Confusion ของ Depth of Field เป็นอย่างไร เมื่อคุณใช้ F ที่สูงส่งผลให้ ช่องรูรับแรงแคบลง ทำให้แสงที่ส่องเข้ามายังเลนส์นั้นหรี่น้อยลงไปด้วย การที่เราใช้รูรับแสงกว้าง ให้นึกภาพถึง แสง 3 เส้นที่พุ่งมายังเซนเซอร์

  • แสงที่ส่องทะลุเลยไปจะทำให้ตรงส่วนนั้นเบลอ
  • แสงที่ตกลงที่เซนเซอร์พอดีตรงส่วนนั้นก็จะชัด
  • แสงที่ฟุ้งกระจายและมาถึงเซนเซอร์แบบกว้าง ๆ ก็จะทำให้ภาพเบลอ

แต่การปรับรูรับแสงให้แคบลงส่งผลให้ แสงที่ส่องมานั้นถูกปรับเข้าหาจุดเส้นแสงที่ตกกระทบลงหน้าเซนเซอร์พอดีมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นการที่เราต้องการให้ภาพชัดทั้งภาพโดยการปรับค่ารูรับแสงให้แคบ ๆ (F สูง) เข้าไว้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป เพราะเลนส์แต่ละตัวจะมีช่วงรูรับแสงที่คมที่สุดของเลนส์ตัวนั้น ๆ เราถึงจะเคยได้ฟังได้ยินกันมาบ้างว่า ไม่ควรเปิดค่า F ให้กว้างจนเกินไป ไม่ควรเกิน F/16 นะ อะไรแบบนี้ เพราะว่าการที่เราพยายามบีบค่ารูรับแสงให้แคบมากเกินไปจะส่งผลให้แสงที่เข้ามานั้นมีความฟุ้งมากขึ้นเพราะถูกบีบให้เป็นเส้นตรงเข้าไปมากขึ้นและค่อยกระจายตัวออกเมื่อกระทบกับเซนเซอร์ เปอร์เซ็นต์ในการที่แสงจะฟุ้งมากขึ้น ขึ้นอยู่กับรูรับแสงที่แคบลงมาก ๆ เราจึงได้ยินเสมอว่าอย่าใช้ค่ารูรับแสงให้กว้างมากจนเกินไป เพราะภาพที่ออกมาจะดูเหมือนชัดแต่ไม่ชัด จะมีความฟุ้ง ๆ คาดเคลื่อน และนี่คือสิ่งสำคัญของ CoC ที่มีต่อ Depth of Field ที่ควรทำความเข้าใจ


ระยะห่างของวัตถุกับเลนส์

เราเข้าใจถึงการเกิดของ DoF คือ มาสองอย่าง อย่างต่อไปที่เป็นส่วนประกอบให้ Depth of Field ทำงานคือ ระยะห่างของวัตถุ และ เลนส์ ถ้าหากเราถ่ายใกล้ ๆ ที่ตัวแบบ เราจะได้ชัดตื้น และ ถ้าหากเราถอยออกไปไกลจากตัวแบบ เราก็จะได้ชัดลึกที่มากขึ้นตามลำดับ นั่นก็เป็นส่วนนึงที่จะอธิบายถึง ระยะห่าง และ วัตถุ ที่ส่งผลต่อ DoF แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ถ้าคุณใช้ เลนส์ Portrait ระยะ 50mm F/5.6 เอาหน้าเลนส์ไปใกล้ตัวแบบ ก็จะทำให้ภาพนั้นดูชัดตื้น แต่ขณะเดียวกันถ้าคุณเขยิบเลนส์ออกห่างจากตัวแบบจนเห็นทั้งตัว ก็จะทำให้ภาพนั้นชัดลึกมากทั้ง ๆ ที่ ค่ารูรับแสงเท่าเดิมนั่นเอง หรือถ้าหาก คุณใช้เลนส์ซูม ใช้ค่า F/5.6 ระยะเท่าเดิม แต่ซูมเข้าหาตัวแบบ ก็จะทำให้ภาพที่ออกมานั้นมีความชัดตื้น แต่จะส่งผลกับวัตถุที่อยู่ใกล้เคียงอาจจะชัดลึกขึ้นแตกต่างจากการเอาระยะห่างหน้าเลนส์ใกล้ตัวแบบ


สรุป

DoF คือ การควบคุมการชัดลึกชัดตื้นของภาพ โดยมีปัจจัยอย่าง รูรับแสง ระยะห่างของเลนส์ เป็นตัวกำหนด โดยที่สามารถสรุปเข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า

  • F น้อย ชัดตื้น / F มาก ชัดลึก
  • หน้าเลนส์ใกล้แบบ ชัดตื้น / ไกลแบบ ชัดลึก
  • ซูมมากชัดตื้น / ซูมน้อย ชัดลึก