JPEG หรือ RAW ?

กล้อง  EOS เปิดโอกาสให้คุณเลือกได้ว่าจะบันทึกภาพแบบ JPEG หรือ RAW หรือจะเลือก JPEG+RAW เพื่อบันทึกภาพทั้ง 2 แบบในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วเรื่องนี้ตัดสินใจได้ง่ายมาก  หากคุณไม่ต้องการนำภาพไปปรับแต่งทีหลัง  ให้เลือกเป็น JPEG ในทางตรงกันข้ามไฟล์ RAW จะเหมาะกว่าหากคุณต้องการใช้คอมพิวเตอร์ปรับแต่งภายหลัง ไฟล์ JPEG เป็นไฟล์บีบอัด ซึ่งกล้องจะปรับแต่งภาพตามค่าที่ไว้ ทำให้สามารถสั่งพิมพ์ได้ทันทีหลังถ่ายภาพ การปรับแต่งภาพภายในกล้องสามารถควบคุมได้ด้วยการตั้งค่าต่างๆ อาทิ รูปแบบภาพและค่าสมดุลแสงสีขาว แต่จะไม่สามาถแก้ผลของการปรับแต่งดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ได้ในภายหลัง กรณีที่บันทึกแบบ JPEG คุณจะสามาถเลือกระดับการบีบอัดได้ด้วย การบีบอัดไฟล์ JPEG จะทำให้ข้อมูลบางส่วนหายไปเสมอ กล่าวคือยิ่งบีบอัดมากเท่าไหร่ ขนาดไฟล์และคุณภาพก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ดังนั้นควรเลือกระดับการบีบอัดที่คงคุณภาพไว้มากที่สุดเสมอ หากมีหน่วยความจำเหลือมากพอ ไฟล์ RAW สำหรับการปรับแต่งภาพ ไฟล์ RAW จะเก็บรายละเอียดทั้งหมดที่เซ็นเซอร์ CMOS ที่ได้รับเอาไว้ ไฟล์ภาพ RAW จึงมีข้อมูลภาพมากกว่าไฟล์ JPEG ทั้งยังมีระดับความเข้มของสีที่ละเอียดกว่า เมื่อเทียบกันแล้วไฟล์ภาพ JPEG จะอยู่ที่ 8 บิต […]

10 เคล็ดลับ สำหรับนักเดินทาง ที่รักการถ่ายรูป

1. เลือกจุดหมายปลายทางที่เอื้อต่อการถ่ายภาพ สถาน ที่บางที่นั้นจะช่วยให้ถ่ายภาพออกมาได้สวยกว่าสถานที่อื่นๆ ตอนนี้ Skyscanner และ Google Images จะกลายเป็นเพื่อนแท้การเดินทางของคุณ ลองมองหาจุดหมายปลายทางที่ไม่แพงนักและใช้ Google Images ดูภาพสถานที่นั้นเพื่อดูว่าที่ใดบ้างที่จะเปิดโอกาสให้คุณได้ถ่ายภาพงามๆ ได้ 2. หาเพื่อนคนท้องถิ่น (และเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองสักหน่อย) ช่าง ภาพที่ดีมักจะได้ภาพที่สวยงามมากๆ แม้ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตอนแรกดูเหมือนว่าจะไม่น่าพึงปรารถนาให้กดชัตเตอร์ เท่าไรนัก คุณจะสามารถถ่ายภาพที่ดีกว่าได้หากคุณพยายามทำความรู้จักสถานที่ท้องถิ่นและคน พื้นเมือง เพราะพวกเขามักจะช่วยหาทำเลเหมาะๆ ในการถ่ายภาพให้คุณ และพาคุณไปยังที่ต่าง ๆ ที่คุณอาจไม่เคยมีโอกาสได้เห็นด้วยตัวเอง และสถานที่หรือสิ่งต่างๆ นั้นมักจะนำมาซึ่งหัวข้อในการถ่ายภาพได้เอง ลองเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองไว้บ้าง เช่น ประโยคที่ควรรู้อย่าง “ได้ไหมครับ” “ได้โปรด” “ขออนุญาตครับ” และ “ขอโทษครับ” ลองเรียนรู้คำพวกนี้ดู ภาษาจะช่วยเปิดทางให้คุณเอง 3. เวลาที่เหมาะเจาะระดับแสงจะแตกต่างกันไปตามเวลาที่ต่างกันในแต่ละวัน (และสภาพอากาศ) และจะมีผลต่อการจับภาพของคุณ ช่างภาพหลายคนชอบ ‘ช่วงเวลาทอง’ (คือช่วงเช้าตรู่หรือตอนใกล้พลบค่ำ) ดังนั้นให้เลือกเวลาที่คุณต้องการถ่ายภาพอย่างชาญฉลาด คุณอาจจะซื้อโปสการ์ดของสถานที่ท้องถิ่นที่คนชอบไปถ่ายภาพและลองสังเกตเงาใน ภาพว่าถ่ายออกมาในลักษณะใดเพื่อให้ภาพออกมาดีที่สุด 4. อย่าเร่งรัด ให้เวลากับตัวเองอีกสักหน่อย ให้เวลาตัวคุณเองเพิ่มเติมในการหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการถ่ายภาพ […]

การรอ-จังหวะ-เรื่องราว

ภาพ Landscape หรือภูมิทัศน์ (ศัพท์บัญญัติทางการ) เรียกทั่วๆไปไปคือภาพทิวทัศน์ หลักๆ เเบ่งเป็นทิวทัศน์ธรรมชาติกับทิวทัศน์ในเมือง การถ่ายภาพทิวทัศน์ความจริงไม่ใช่เรื่องยากอะไรนัก สำคัญขึ้นอยู่กับมุมมองที่เราจะวางภาพลงไป วัดเเสงตามที่ต้องการซึ่งปกติทั่วไปชอบใช้ Mode M มากกว่าที่ใช้ Auto เหตุเพราะว่าเราสามารถเลือกปรับค่าตามที่ต้องการได้ง่าย ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บบรรยากาศโดยรวม เเต่ข้อนี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของภาพตามความต้องการของเรา ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องใช้เลนส์มุมกว้างอย่างเดียว สิ่งที่ต้องระวังคืออย่าให้ภาพที่ออกมาดูเเบนๆ ต้องสร้างความ “ลึก ใกล้ กลาง ไกล” ให้กับภาพ ..อย่ามองภาพด้วยตาที่เห็นว่าสวย เเล้วยกกล้องขึ้นเล็งถ่ายทันที ให้ความประณีต ดูภาพให้ละเอียด ใส่ใจกับสิ่งเเวดล้อมที่อยู่รอบๆว่าพอจะนำอะไรมาช่วยให้ภาพดูมีมิติขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ก้อนหิน ดอกไม้ วัตถุต่างๆ เช่นเรือ สิ่งของ ฯลฯ เข้ามาช่วยใช้เวลาหามุมสักนิดเเล้วค่อยกดชัตเตอร์ “ใส่เรื่องราวให้กับภาพ” ถ้าสามารถรอหรือเลือกหาเรื่องราวอื่นๆ ที่นำเข้ามาประกอบเพิ่มในภาพได้นอกเหนือจากวิวที่เราเห็นก็ควรจะรอ ถึงบอกว่าต้องดูสิ่งรอบข้างให้ดี คุณอาจจะได้ภาพงามๆ อันเป็นผลพลอยได้ตามมา

หลักการถ่ายภาพพลุ

หลักการถ่ายภาพพลุ : โดยอาจารย์ ดำรงค์  ค้าเจริญ 1. ต้องรู้เวลาสถาณที่และความสูงของพลุที่จะจุด  จากนั้นเลือกสถาณที่และบริเวณที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพควรเตรียมอุปกรณ์กันฝนด้วยหากเป็นหน้าฝนและยาทากันยุงบางกรณีสถาณที่นั้นอาจมียุง 2. เลือกฉากที่ปรากฏให้ดี ถ้าทำได้ควรตรวจดูสถาณที่จุด บริเวณโดยรอบเพื่อให้ทำเลที่เหมาะสมและมีฉากหลังที่สวยที่สุดเทาที่จะทำได้จัดองค์ประกอบให้น่าสนใจ 3.ความละเอียดของกล้องที่ใช้ควรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีแบตเตอรี่สำรองและตัวเก็บข้อมูล(memmory card)ให้มากพอเพราะเวลาที่ใช้ในการจุดพลุมักจะไม่นานประมาณ 15-30 นาที ดังนั้นต้องให้มีความพร้อมที่สุด 4. ตั้งค่า ISO 100 ไม่น่าเกิน 200 เพื่อให้มีจุดรบกวน(niose)ในภาพน้อยที่สุด ทำให้ได้ภาพคมชัด 5. White Balance ควรอยู่ที่Sunlight หรือ Daylight นอกจากภาพที่เป็น RAW สามารถแก้ไขได้เองในภายหลัง 6.ตั้งค่ารูรับแสงที่ประมาณ F8-F11 เพื่อให้ความชัดลึกที่เหมาะสม หากอยู่ไกลบริเวณที่จุดมาก ก็สามารถตั้งF11 ได้ ให้ตั้งระยะโฟกัสไว้ที่ infinity และตั้งค่าโฟกัสเป็นแบบ Manual 7. ความเร็วในการถ่ายภาพประมาณ 1-2 วินาที หากต้องการภาพที่ดีความตั้ง Shutter B แล้วใช้ผ้าสีดำปิดเป็นระยะๆเพื่อป้องกันแสงเข้ามากเกินไป กรณีที่ใช้Shutter B […]

คำย่อและความหมายของเลนส์ Nikon

Nikkor Lens AF-S เป็นเลนส์รุ่นใหม่ ที่มีมอเตอร์ในตัวทำให้โฟกัสได้รวดเร็ว และเงียบ (SWM Silent Wave Motor) ใช้ได้กับกล้อง DSLR รุ่นใหม่ๆ AF เป็นเลนส์ที่สามารถใช้กับกล้องรุ่นเก่า กล้องฟิล์มได้ หรือแม้แต่ DSLR รุ่นใหม่ที่สามารถใช้กับ AF เลนส์ได้ แต่จะไม่มีระบบ SWM Silent Wave Motor ED   (Extra-low Dispersion) เป็นชิ้นเลนส์ที่มีการออกแบบให้มีการกระจายแสงต่ำ ช่วยลดการคลาดสีได้เป็นอย่างดี เพื่อคอนทรานสต์และช่วยให้ภาพคมชัด DX   เลนส์ตระกูลใหม่ล่าสุดของ Nikon ที่ได้รับการออกแบบพัฒนาชิ้นเลนส์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอล SLR โดยเฉพาะ เพื่อไฟล์ที่มีคุณภาพรองรับการใช้งานระดับมืออาชีพและการใช้งานกล้องดิจิตอล SLR ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว VR    (Vibration Reduction) ระบบป้องกันภาพสั่นไหว ช่วยให้ภาพถ่ายคมชัดเมื่อถ่ายภาพที่ความไวชัตเตอร์ต่ำ ซึ่งสามารถใช้ความไวชัตเตอร์ได้ต่ำกว่าปกติถึง 3 สต็อป SIC     (Super Integrated Coating ) เป็นระบบเคลือบผิวเลนส์ของนิคอนที่ช่วยลดการเกิด […]

คำย่อและความหมายของเลนส์ Canon

คำย่อที่เลนส์และความหมาย Canon Lens EF-S เลนส์ที่มีองศารับภาพพอดีกับขนาดเซ็นเซอร์ของกล้อง D-SLR ที่มีเซ็นเซอร์ ขนาด APS-C รุ่นใหม่ ไม่เหมาะกับ กล้องฟิลม์ และ กล้อง Full Flame แต่ต้องคูณค่าทางยาวโฟกัส ด้วย 1.6 EF เลนส์ที่มีองศารับภาพพอดีกับเหมาะกับ กล้องฟิลม์ และ กล้อง Full Flame สามารถใช้ทางยาวโฟกัสได้เต็มที่ จริงตามที่ระบุไว้ที่กระบอกเลนส์ L    (Lens L Series )เป็นเลนส์เกรด โปร ของ Canon มีการผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ และ มีคุณภาพสูงเป็นที่รู้จักดีของผู้ใช้กล้อง Canon จะมีชิ้นเลนส์ที่มีคุณภาพช่วยลดการคลาดสี และ มีราคาที่สูง ดูได้จากมีขอบสีแดงที่ขอบเลนส์ DO   (Diffractive Optic) ระบบเทคนิคของเลนส์ที่ช่วยลดความคลาดสี (CA chromatic aberration) และช่วยทำให้ผลิตที่พิเศษ คือลดขนาด และน้ำหนัก IS    […]

อุปกรณ์สามชิ้นที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อภาพที่คมชัด

อุปกรณ์สำคัญ 1. ขาตั้งกล้อง TRIPOD การถ่ายภาพใต้สภาพแสงน้องจำเป็นต้องใช้ค่าความไวชัตเตอร์ต่ำดังนั้นขาตั้งกล้องจึงมีความสำคัญหากคุณต้องการให้ภาพถ่ายยามค่ำคืนของคุณมีความคมชัด ให้คุณเลือกซื้อขาตั้งที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะจ่ายได้ 2.สายลั่นชัตเตอร์ REMOTE  SHUTTER ระบบตั้งเวลาในกล้องของคุณอาจจะเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆไป (เพื่อลดการสั่นไหว)หรือก่อให้เกิดความเบลอ) แต่สายลั่นชัตเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการบันทึกค่าการเปิดรับแสงที่ยาวนานของเส้นไฟจราจร 3.เลนส์ฮูด LENS HOOD เลนส์ฮูดจะช่วยลดแสงแฟลร์ที่เกิดจากแสงสว่างจากด้านข้างที่ตกลงสู่เซ็นเซอรืโดยที่คุณไม่ต้องการ แต่ในการถ่ายภาพในฤดูฝนมันยังช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝนตกลงบนหน้าเลนส์ของคุณได้เช่นกัน

เทคนิคการถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆที่ควรรู้จัก

เทคนิคการถ่ายภาพมีมากมายตัวอย่าง เช่น 1.การถ่ายภาพบุคคล -ใช้รูรับแสงกว้างสุดหากต้องการฉากหลังเบลอและระยะเทเลสูงๆ(แต่พองาม) -ใช้สีสันให้นุ่มนวลไม่แรงไปลดค่าความเปรียบต่างลงด้วย -จัดองค์ประกอบภาพให้ดีระวังมือของแบบ -หากภาพหมู่มีมากว่า 2-3 คนดูระยะชัดลึกด้วยว่าครอบคลุมหรือไม่ -แสงและเงาช่วยให้ภาพคนมีมิติ ไม่แบนเลนส์เทเลมากๆหน้าอาจแบนได้ 2.การถ่ายภาพเด็ก -เหมือนกับถ่ายภาพบุคคล -ไม่ควรใช้แฟลช -หาอะไรให้เด็กสนใจรอจังหวะ 3.การถ่ายภาพดอกไม้และแมลง -เปิดโหมดมาโครเสมอ -ระยะชัดลึกพอประมาณ หากแคบไปอาจไม่สวย -ปรบสีสันให้โดดเด่น -เพิ่มหยดน้ำก็จะดูดี -ฉากหลังที่สวยงาม 5.การถ่ายภาพวิว -รูรับแสงแคบที่สุดเพื่อให้เกิดความชัดลึก -ควรมีฉากหน้าประกอบเพื่อเพิ่มมิติของชอบ -ควรถ่ายในช่วง wide -เพิ่มความเข้มสีสัน -ใช้ฟิลเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ภาพ 6.การถ่ายภาพตะวันตกดิน -ใช้เทคนิคเดียวกับภาพวิวได้แต่ให้เพิ่มเติมคือ -ถ่ายภาพด้วย white balance ShadeหรือCloudy -ลดแสงลง 1-2 stop -ถ้าจำเป็นใช้ BKT -อย่าเพิ่งเลิกแม้ตะวันลับฟ้าแล้ว -ลดความเปรียบต่างลเพื่อให้รายละเอียดส่วนมืดและส่วนสว่างมากขึ้น 7.การถ่ายภาพกลางคืน – ต้องไม่ลืมขาตั้งกล้อง tripod -เปิดหน้ากล้องให้นานเพียงพอที่จะเห็นแสงได้ชัดเจน -ลดความเปรียบต่างลเพื่อให้รายละเอียดส่วนมืดและส่วนสว่างมากขึ้น 8.การถ่ายภาพ Action เคลื่อนไหวเร็วๆ -ใช้ระบบ AF C เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว […]

Mode Auto ทำไมถ่ายภาพไม่สวยและ Mode อื่นๆเป็นอย่างไร

ลองทดสอบโหมด Auto ในสภาวะแสงที่เปลี่ยนไปจะพบว่าโหมด Auto จะไม่เข้าใจสภาพแสงทั้งหมด ทำให้ภาพบางภาพมีความผิดเพี้ยนเกิดขึ้น มารู้จักกับโหมดต่างๆของกล้อง Mode ถ่ายภาพ 1. การใช้ Mode Auto กล้องตั้งค่าทุกอย่างให้อัตโนมัติเหมาะสำหรับ – การถ่ายภาพทั่วไป – มือใหม่ที่ไม่ต้องการปรับแต่งค่าต่างๆให้ยุ่งยากกล้องปรับให้ทั้งหมด 2. การใช้ Mode P กล้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงแต่เราตั้งค่าอื่นๆร่วมได้เหมาะสำหรับ – การถ่ายภาพทั่วไป 3.การใช้ Mode A (AV) เราควบคุมค่ารูรับแสงด้วยตัวเองได้ ส่วนค่าอื่นๆกล้องตั้งให้ สามารถปรับแต่งได้มาก เหมาะสำหรับ – การถ่ายรูปที่ต้องควบคุมความชัดลึก เช่น ภาพวิวชัดลึกมาก,ภาพคน ชัดลึกน้อย หลังเบลอ – นักถ่ายภาพชำนาญแต่ต้องการความรวดเร็วมักจะตั้งค่าไว้ที่โหมดนี้ มากกว่าโหมด P 4.การใช้ Mode S (TV) เราควบคุมค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเองได้ ส่วนค่าอื่นๆกล้องตั้งให้ปรับแต่งได้มากเหมาะสำหรับ – การถ่ายภาพน้ำตกที่ต้องการความเร็วชัตเตอร์ช้าหรือการถ่ายภาพเคลื่อนไหว เช่น นก,กีฬา 5. การใช้ […]

กฏเหล็ก 10 ประการที่ต้องระวังและดูแลกล้องถ่ายภาพของเรา

” เรามาเรียนรู้วิธีการดูแลและข้อควรระวังในการใช้กล้องดิจิตอล “ 1.ห้ามเด็ดขาดคือ ห้ามตก ห้ามกระแทก ห้ามเปียก ห้ามร้อน ห้ามชื้น และห้ามโดนความเค็ม 2.เมื่อเปลี่ยนการ์ดหรือแบตเตอรรี่ หรือเลนส์ควรปิดกล้องก่อนเสมอ 3.การ์ดที่ใช้กับกล้องครั้งแรกต้อง Format ก่อนเสมอ 4.ไม่ควรถ่ายดวงอาทิตย์หรือเล็งไปที่ดวงอาทิตย์นานๆ 5.การเปลี่ยนเลนส์ต้องระวังฝุ่นให้มากที่สุด 6.ข้อระวังเลนส์ ควรมี Filter ป้องกันไว้เสมอ 7. ระวัง LCD หน้าจอ อย่าให้กระแทก 8.การโอนข้อมูลและการทำความสะอาด CCD ต้องชาร์จแบตเตอร์รี่ให้เต็มอยู่เสมอ 9.ตั้งเวลาในกล้องให้ตรงจริงเสมอ เพื่อประโยชน์ในอนาคต 10.หากไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรให้เพื่อนยืมกล้อง ” อุปกรณ์ในการดูแลรักษากล้อง “ 1.ที่เป่าลมยาง(อันดับแรกสุด)ใช่เป่าเศษฝุ่นและเป่าทำความสะอาดตัวกล้อง 2.แปรงปัดฝุ่น**อย่าใช้แปรงปัดฝุ่นปัดทำความสะอาดตัวกล้องและอุปกรณ์อื่นๆนอกจากผิวเลนส์** 3.กระดาษเช็ดเลนส์ 4.ผ้าเช็ดเลนส์ 5.น้ำยาเช็ดเลนส์(อันดับสุดท้ายถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใช้นอกจากมีคราบฝังเฃแน่นเป่าไม่ออก) 6. Siliga Gel  สารดูดความชื้น

Macro เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร

      มาโคร (macro) หรือการถ่ายภาพใกล้เน้นรายละเอียดของตัวแบบอาวุธที่ถูกใช้มากที่สุดก็คือ เลนส์มาโคร Tamron 90mm หรือ Canon 100macro f2.8  พร้อมวิธีการเซตแฟลชภายนอกของกล้องที่เหมาะสม Nikon  หรือ Canon  , Sigma หรือ Tamron คุณเลือกใช้ตามกล้องของคุณแต่เมื่อคุณเริ่มต้นกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นนี้คุณต้องทำความข้าใจอะไรบางอย่าเสียก่อนความระทึกใจในการไล่ล่าและแรงกระตุ้นขั้นสูงสุดคือการสร้างสรรค์ภาพที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตที่หายากมันมากกว่าการนำภาพมาเปรียบเทียบกันเพียงอย่างเดียว  

เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับการถ่ายภาพทะเล

เคล็ดลับการถ่ายภาพทะเล ให้สวยถูกใจ 1.การถ่ายทะเล สิ่งแรกที่ช่างต้องคำนึงถึงคือ ต้องมองหาทำเล และบรรยากาศของภาพที่จะแสดงให้เห็น การจัดองค์ประกอบภาพ ต้องแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน เช่น อาจแบ่งภาพให้ส่วนของท้องฟ้า 2 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน หรือท้องฟ้า 1 ส่วน พื้นดิน 2 ส่วน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นอัตราส่วนของการแบ่งสเกล ตามหลักการถ่ายภาพอย่างถูกหลักการ 2.ส่วนการวัดแสง ช่างภาพทุกท่านต้องวัดแสงที่ท้องฟ้าเป็นหลัก เพราะภาพวิว หรือธรรมชาติทั่วไป สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพ ต้องเน้นที่ท้องให้ดูสดใส  เมือท้องฟ้าสีสวย ก็จะทำให้ภาพที่ของมาดูดี และน่าทึ่งมากยิ่งขึ้น 3.การถ่ายภาพแบบนี้ มันเป็นจินตนาการของช่างภาพ และถือได้ว่าเป็นการนำเสนอ และมุมมองของช่างภาพโดยแท้จริง หวังว่าบทความนี้คงเป็นคำแนะนำที่เกิดประโยชน์แก่ช่างภาพหลายๆท่านไม่มาก ก็น้อย สมาชิกคนไหนถ้ามีโอกาสไปเที่ยวทะเลก็ลองหยิบกล้องออกมาเก็บภาพสวยๆ มาฝากกันบ้างนะครับ

Panning จับภาพด้วยชัตเตอร์ต่ำ เทคนิค การถ่าย ภาพ Panning

 

        เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเหมือนกับภาพ Action แต่จะใช้เทคนิคการแพน หรือการส่ายกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ และกดชัตเตอร์ขณะที่ส่ายกล้อง ทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นนิ่ง เห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ฉากหน้าและฉากหลังที่นิ่งอยู่กับที่ลู่ตามวัตถุ เป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพกีฬาประเภทต่าง ๆ    

แฟลชนอกสำคัญไม๊? Out some important flash

  ปกติแล้วกล้อง DSLR ระดับ beginner จนถึง semi-pro นั้น มักจะมีแฟลชหัวกล้องติดมากับกล้องด้วยเสมอๆซึ่งข้อดีของมันก็คือ ความสะดวกสบาย เพราะเราไม่ต้องพกพา แฟลชนอก ที่มีความเทอะทะ และมีน้ำหนักมาก…. 

กฎสามส่วน (Rule of Third)

การจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิด และความรู้สึกได้ การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของจุดสนใจในภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ "กฎสามส่วน"

 กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วน ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส่น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียดอื่นๆนั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา 

 

การจัดวางตำแหน่งจุดเด่นหลักไม่จำเป็นจะต้องจำกัดมากนัก อาจถือเอาบริเวณใกล้เคียงทั้ง สี่จุดนี้

Lens เลนส์ ความหมายเลนส์ และระยะของเลนส์

เลนส์คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ผิวเรียบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ เลนส์นูนและเลนส์เว้า ใช้ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุรับภาพ(CCD ในกล้องดิจิตอล) โดยเลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีหลายชนิดหลายช่วงการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในงานแต่ละประเภท
ก่อนที่จะกล่าวถึงคุณสมบัติของเลนส์ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลนส์ก่อนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยปกติทั่วไปเราคงเคยได้ยินชื่อของเลนส์ เช่น เลนส์ 28 มม. เลนส์ 70-300 มม. เป็นต้น โดยตัวเลขเหล่านี้คือขนาดของความยาวโฟกัส หรือความยาวระยะชัด (Focal Lenght) ช่วงความยาวนี้มักจะเขียนไว้ที่ขอบตัวเลนส์ เพื่อที่จะแสดงให้ผู้ที่จะใช้เลนส์ได้มีความสะดวกในการเลือกใช้งาน ความยาวโฟกัสของเลนส์นี้จะมีตัวเลขบอกความยาวไว้ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรหรือนิ้ว  

Hood ความสำคัญ ประโยชน์ ของเลนส์ฮูด

Hood นี่สำคัญตรงไหน?

              ในการถ่ายภาพในสภาวะแสงปกติ การถ่ายภาพก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อต้องถ่ายภาพกึ่งย้อนแสง ภาพที่ได้จะเกิดการพล่า ขาดคมชัด และเกินแสงแฟร์ (ที่เป็นเหลี่ยม) เนื่องจากแสงแดดไปโดนผิวเลนส์ วิธีทางแก้ง่าย ๆ คือการเอามือมาบัง แต่ก็เสี่ยง เพราะมืออาจจะเข้าไปในกรอบภาพได้ โดยเฉพาะกล้องที่ไม่ใช่ระดับมืออาชีพ หรือรุ่นท็อปที่จะสามารถมองเห็นภาพได้ 100 % ดังนั้นเลนส์รุ่นใหม่ ๆ มักจะแถม Hood มาให้

 
 

Charge แบตเตอรี่อย่างไร? ให้ใช้งานได้นานๆ

                                                                                                                         

แน่นอนครับว่าการชาร์ตแบตเตอรี่อย่างถูกวิธีนั่นจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็วเกินไป แต่ผู้ใช้งานมักจะสับสนว่าวิธีชาร์ตที่ถูกต้องนั้นต้องทำอย่างไร เพราะบางคนก็บอกว่าต้องแบตฯ หมดแล้วค่อยชาร์ต บางคนก็บอกว่าชาร์ตได้เลยไม่ต้องรอให้แบตฯ หมดแต่ต้องชาร์ตให้เต็มแล้วค่อยเอามาใช้ หรือบางคนก็บอกว่าชาร์ตยังไงก็ได้จะเสียบเข้าเสียบออกกี่ครั้งก็ได้ตามใจ จะยกตัวอย่าง 2แบบ ที่ใช้ทั่วไปนะครับ

การวัดแสง ระบบวัดแสง ของกล้องดิจิตอล

ระบบวัดแสงของกล้องดิจิตอล โดยทั่วไป จะแบ่งเป็น 3 แบบ ก็คือ

1) การวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Evaluative)

เป็นการวัด แสงที่ เหมาะสำหรับผู้ที่พึ่งจะเริ่มใช้กล้องคอมแพ็คดิจิตอล ในการถ่ายภาพทุกๆครั้ง กล้องจะทำการคำนวนแสงทั่วทุกส่วนของภาพ
ไม่ว่าภาพจะมีส่วนที่มืดหรือส่วนสว่างปะปนกันในสัดส่วนที่ต่างกันกล้องจะคำนวนแล้วหาค่าเฉลี่ย ในการเปิดรูรับแสง ตั้งความไวชัดเตอร์
เพื่อที่จะทำการบันทึกภาพให้มีความสว่างพอดี ไม่มืดและสว่างจนเกินไป

เหมาะกับการถ่ายภาพวิว ถ้ามีสภาพแสงที่พอดีๆ ไม่แรงจนเกินไป
การวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ ก็จะได้ภาพที่สวยงาม