6 แนวคิดก่อนลั่นชัตเตอร์ให้มีเรื่องราว

“ภาพหนึ่งภาพ แทนคำกว่า 1 ล้านคำ” คำเล่าขานของนักสื่อสารและช่างภาพที่มักจะพูดให้ฟังกันเป็นประจำ เวลาพูดถึงรูปภาพ แต่การสร้างสรรค์ให้รูปภาพไม่กี่ใบให้เล่าเรื่องให้ผู้ชมภาพได้เข้าใจเรื่องราว เข้าถึงความรู้สึกของคนถ่ายได้อย่างลึกซึ้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งช่างภาพดังๆ หลายคนสร้างภาพที่มีสเน่ห์ชวนหลงไหลด้วยการใส่เรื่องราวลงไปบนภาพฟังดูเป็นเรื่องง่ายแต่การจัดองค์ประกอบ ลำดับภาพรวมถึงการเล่นกับสีให้ออกมาลงตัวสอดคล้องกับเรื่องที่จะเล่านั้นต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง EC-Mall รวบรวม 6 เทคนิคการคิดช่วยเสริมให้ภาพมีเรื่องราวและเสน่ห์มากยิ่งขึ้น 

1.จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

จินตนาการถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคนอื่น  เมื่อเราเห็นมุมที่เราสนใจ ลองต่อยอดดูว่าถ้ามีวัตถุเดินมาในเฟรม แสงอาทิตย์เปลี่ยนมุม ฝึกคิดล่วงหน้าก่อนยกกล้องถ่าย เรียกง่ายๆ ว่า พยายามคิดถึงภาพสุดท้ายว่าจะเป็นอย่างไร เรื่องราวจะออกมาประมาณไหน เรียกว่าเราใช้จินตนาการในการสร้างภาพออกมาก่อน  ยิ่งถ้าเราพกกล้องถ่ายภาพติดตัวเวลาออกไปข้างนอกแล้วละก็ จะเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้มากทีเดียว

2.กล้าที่จะลอง

อย่ากลัวที่จะล้มเหลว ยิ่งเรากลัวการวิจารณ์หรือมุมมองที่แตกต่างแล้ว  ตัวผู้ฝึกฝนอาจจะพัฒนาได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะผู้ชมจะเป็นกระจกที่คอยสะท้อนภาพของเราว่าเราสื่อสารได้ตรงกับผู้ชมหรือเปล่า ซึ่งความล้มเหลวและคำวิจารณ์จะเป็นแบบฝึกชั้นเยี่ยมในการเหลาความคิดและการมองภาพของเราให้แหลมคมมากขึ้น ฉะนั้นทิ้งความกลัวไว้ข้างหลังแล้วออกไปถ่ายภาพเพื่อพัฒนาตัวเองให้เก่งมากขึ้น

3.ถามตัวเองรูปที่ถ่ายจะสื่ออะไร

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากในการพัฒนางานถ่ายภาพของตนเองให้ดีขึ้น แม้เราจะเรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพต่างๆ มาครบถ้วน ในบางครั้งสเน่ห์ของภาพกลับไม่ได้อยู่ที่เทคนิคแต่เรื่องราวของภาพต่างหากที่เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัด ซึ่งก็มีหลายภาพที่ภาพอาจจะดูไม่ชัดมากแต่เรื่องราวในเรื่องครบถ้วนแถมยังเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกละก็ ความน่าสนใจจะยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้นมาก EC-Mall แนะนำคำถามสั้นๆ ไว้ใช้ถามตนเองและภาพถ่ายดู

1.ถ่ายอะไรให้ได้อารมณ์ตามที่ตั้งใจ

2.แสงที่ได้ดีพอหรือยัง

3.องค์ประกอบเป็นไปอย่างที่คิดหรือไม่

4.มิติในภาพเป็นอย่างไร

5.เรื่องราวในภาพ้ป็นหนึ่งเดียวกันหรือไม่

4.อารมณ์ภาพต้องมา

อารมณ์ความรู้สึกเป็นอีกสิ่งที่สำคัญในการสื่อสาร เพราะความรู้สึกเป็นสิ่งส่งถึงกันได้ง่ายโดยไม่ต้องอิงเหตุผลมากเท่าไร  คนถ่ายภาพจึงควรพยายามเก็บจังหวะภาพที่ส่งอารมณ์ได้ดีที่สุด หากภาพที่ถ่ายเป็นเรื่องเกี่ยวคน พยายามเก็บสีหน้า ท่าทางและบรรยากาศมาไว้ในภาพ

5.ชื่อภาพต้องชัดเจน

บางครั้งภาพที่เราถ่ายไปอาจจะมีเรื่องราวบางอย่างซ่อนไว้หรือวัตถุประสงค์ถ่ายที่อาจจะทำให้ผู้ชมเข้าถึงยาก รวมไปถึงการตีความของคนดูที่อาจจะออกห่างไปจากความตั้งใจของศิลปิน ชื่อภาพและคำอธิบายสั้นๆ  เป็นการช่วยให้ผู้ชมเข้าใจสารที่ผู้ถ่ายต้องการสื่อได้รวดเร็ว

6.juxtaposition

เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่ช่างภาพนักเล่ามักจะนิยมใช้ โดยจะนำวัตถุสองชิ้นมาไว้ในภาพเพื่อแสดงให้เห็นความขัดแย้งของทั้งสองอย่างชัดเจน เช่นคนร้องไห้กับคนหัวเราะ ซึ่งการการเปรียบเทียบแบบนี้ช่างภาพต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เขานำเสนอนั้นต้องวางอยู่บนวัฒนธรรมและความจำเพาะส่วนบุคคลมากเพื่อให้การเล่าเรื่องแบบเปรียบเทียบนี้ใช้งานได้ผลและกระทบคนดูมากที่สุด