“น้อยแต่มาก” เป็นประโยคระดับตำนวนที่กล่าวโดยนักสถาปนิกชาวเยอรมัน Mies van der Rohe จนกลายไอเดียการถ่ายภาพแนวมินิมอลที่หลายคนพยายามถ่ายภาพให้ดูแนวมินิมอลมากขึ้น วันนี้มาลองดูแนวคิดการถ่ายภาพว่าเขามีแนวคิดอย่างไรกันบ้าง
1.ง่ายๆเข้าไว้
เมื่อถ่ายภาพแนวมินิมอลแล้ว พยายามถ่ายให้ภาพดูสะอาดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ผ่านมุมมองที่น่าสนใจ และต้องถามตนเองระหว่างวางเฟรมจัดองคืประกอบด้วยว่าจะลบสิ่งไหนออกจากภาพเพื่อจุดสนใจที่เราพยายามเสนอดูแข็งแกร่งและน่าสนใจ
2.ทำงานร่วมกับ negative space
มีหลายคนที่ให้ความสำคัญกับ negative space จนเป็นส่วนสำคัญของการถ่ายภาพมินิมอล บางคนแย้งว่าพื้นที่ว่างเปล่านั้นมีความสำคัญกับตัววัตถุในภาพ อย่างไรก็ตามเราสามารถจัดการกับพื้นที่ว่างเปล่าเหล่านี้ทั้งที่เป็น negative space และไม่ใช่มาให้เกิดประโยชนืกับภาพมากที่สุดก่อนที่จะมีสิ่งรบกวนอื่นมาทำลายภาพที่เราคิดไว้
3.รวบรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องไว้ในภาพ
นอกจากการจัดการ negative space การแยกวัตถุที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่เรานำเสนอเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เปรียบเหมือนการพยายามทำห้องให้ว่างเพื่อที่จะทำให้เรารู้ว่าอะไรควรนำมาใส่และอะไรที่ควรเอาออกจะทำให้การถ่ายภาพออกมาดีขึ้น
4.มองหา texture และ pattern
พยายามมองหากันเพื่อให้เกิดการซ้ำของรอยหรือเรียกว่าจังหวะของลายเส้นที่มีความสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น รอยแตกของโคลนที่แห้งหรือบนเปลือกไม้ ลายปูน รวมไปถึงฝูงนกก็สามารถทำให้ดูเป็นเรื่องของเส้นสายการซ้ำได้ด้วยเช่นกัน พยายามมองหาเส้นต่างในธรรมชาติ
5.จัดการสีให้ไม่ยุ่งยาก
ในการถ่ายภาพมินิมอลลองมองหาพื้นที่ที่มีโทนสีเดียวหรือใกล้เคียงกันไว้เพื่อนภาพมีสีในทิศทางเดียวกัน อย่างท้องฟ้าและทะเล หรือการจับสีที่มีระดับความเข้มที่ใกล้คียงกัน การพยายามจัดการกับสีไม่ให้ฉีกหนีกันจนเกินไปจะช่วยให้ภาพดูมินิมอลมากขึ้น
6.เล่นกับเส้น
เส้นแนวตั้งและแนวนอนที่ขนานกันกับขอบฟ้า ทะเลหรือเส้นขอบที่ธรรมชาติสร้างขึ้นจะช่วยสร้างภาพให้รู้สึกถึงความสะอาดและดูเป็นระเบียบ ถือว่าเป็นรากฐานการออกแบบที่เรียบง่าย เมื่อทำงานกับสี่เหลี่ยมสี่เหลี่ยมหรือเส้นเรียบง่ายภายในกรอบให้หลีกเลี่ยงการบิดเบือนของเลนส์หรือมุมมองที่ให้มุมเอียงเบี่ยงเบนเส้นของคุณให้มากที่สุด
7.วาดภาพในใจก่อนถ่าย
ก่อนถ่ายภาพลองวาดภาพสุดไว้ภายในใจก่อนเพื่อให้การทำงานจัดองค์ประกอบของเรามีเอกภาพและชัดเจนมากที่สุด และภาพของเราจะไม่สับสนหรือภาพที่ออกมาไม่ได้ตามที่ใจต้องการ แน่นอนยิ่งภาพในใจของเราชัดมากแค่ไหนภาพที่ออกมาจะยิ่งได้ตามที่ต้องการ
8.มองหาความหมายที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
เป็นความนิยมในหมูศิลปินช่วงปี 1960 ที่ส่วนใหญ่ตอบสนองกับการทำงานแนว Abstract Expressionism ซึ่งพยายามถ่ายทอดอารมณ์และพลังงานส่วนตัวของศิลปินผ่านทางศิลปะ Minimalists ในการตอบสนองหลีกเลี่ยงการรวมข้อความหรือคำเปรียบเทียบอย่างชัดเจน จิตรกรที่เรียบง่าย Frank Stella สรุปได้ดังนี้:“ สิ่งที่คุณเห็นคือสิ่งที่คุณเห็น” ขอให้เพียงพอ