หลักการถ่ายภาพพลุ : โดยอาจารย์ ดำรงค์ ค้าเจริญ
1. ต้องรู้เวลาสถาณที่และความสูงของพลุที่จะจุด จากนั้นเลือกสถาณที่และบริเวณที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพควรเตรียมอุปกรณ์กันฝนด้วยหากเป็นหน้าฝนและยาทากันยุงบางกรณีสถาณที่นั้นอาจมียุง
2. เลือกฉากที่ปรากฏให้ดี ถ้าทำได้ควรตรวจดูสถาณที่จุด บริเวณโดยรอบเพื่อให้ทำเลที่เหมาะสมและมีฉากหลังที่สวยที่สุดเทาที่จะทำได้จัดองค์ประกอบให้น่าสนใจ
3.ความละเอียดของกล้องที่ใช้ควรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีแบตเตอรี่สำรองและตัวเก็บข้อมูล(memmory card)ให้มากพอเพราะเวลาที่ใช้ในการจุดพลุมักจะไม่นานประมาณ 15-30 นาที ดังนั้นต้องให้มีความพร้อมที่สุด
4. ตั้งค่า ISO 100 ไม่น่าเกิน 200 เพื่อให้มีจุดรบกวน(niose)ในภาพน้อยที่สุด ทำให้ได้ภาพคมชัด
5. White Balance ควรอยู่ที่Sunlight หรือ Daylight นอกจากภาพที่เป็น RAW สามารถแก้ไขได้เองในภายหลัง
6.ตั้งค่ารูรับแสงที่ประมาณ F8-F11 เพื่อให้ความชัดลึกที่เหมาะสม หากอยู่ไกลบริเวณที่จุดมาก ก็สามารถตั้งF11 ได้ ให้ตั้งระยะโฟกัสไว้ที่ infinity และตั้งค่าโฟกัสเป็นแบบ Manual
7. ความเร็วในการถ่ายภาพประมาณ 1-2 วินาที หากต้องการภาพที่ดีความตั้ง Shutter B แล้วใช้ผ้าสีดำปิดเป็นระยะๆเพื่อป้องกันแสงเข้ามากเกินไป กรณีที่ใช้Shutter B และผ้าสีดำปิดเป็นระยะก็สามารถถ่ายได้นานขึ้น อาจเป็น 10-15 วินาที แต่ต้องระวังไม่ให้กล้องสั่นขณะปิดผ้าคลุมและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่น Shutter และไม่ควรเปิดหน้ากล้องนานไปพลุจะกลายเป็นดวงไฟทำให้ไม่สวย
8. เทคนิคสำคัญคือ หากไม่ได้เก็บภาพระยะไกล ภาพอาจล้นจอได้ ดังนั้นควรมองจอภาพตลอดเวลาแล้วลั่น Shutter ก่อนที่พลุจะล้นออกไปนอกจอ ทำให้ได้ภาพพลุเต็มดวงและไม่หลุดเฟรม
9.จังหวะที่เหมาะสมคือ จังหวะที่พลุขึ้นไปสูงสุดก่อนจะแตกกระจายออกให้รีบกด Shutter บันทึกภาพ