โบเก้ (Bokeh) มีรากศัพท์ จากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “เบลอ” โดยทั่วไปเลนส์แต่ละตัวจะทำให้เกิดคุณลักษณะการเบลอของ ส่วนที่ ไม่อยู่ใน Focus แตกต่างกัน เมื่อถ้าเราถ่ายภาพของ “จุด” ที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อจุดนั้นอยู่ในโฟกัส เราก็จะได้ภาพของ “จุด” ขึ้นมาบนฉากรับ เนื่องจาก แสงที่กระจายตัวผ่านเลนส์ โดนหักเห ให้กลับมารวมกัน
|
ซึ่งตามปกติ หากส่วนที่เบลอไม่ได้มีความเปรียบต่าง(Contrast) กับบริเวณโดยรอบ มากนักเราจะมองไม่เห็นวงกลม เนื่องจากจุดจะเบลอรวมกับบริเวณโดยรอบ จุดที่จะสร้างวงกลม (หรือโบเก้) ขึ้นมาได้ชัดเจน จึงมักจะเป็นจุด ของหลอดไฟ หรือแสงสะท้อน ที่มีความเปรียบต่างกับบริเวณโดยรอบสูง |
และด้วยลักษณะดังกล่าว เมื่อภาพเบลอมากขึ้น (อยู่ห่างจากจุดโฟกัสมาก) จึงหมายถึง วงกลม มีขนาดใหญ่ขึ้น วัตถุอีกชิ้น ที่จะมาสร้างให้ “ส่วนที่เบลอ”นี้เกิดรูปร่างขึ้น คือ ใบของรูรับแสง (Aperture Blades ) ที่มักจะประกอบกันเป็นรูป 5 เหลี่ยม 6 เหลี่ยม 7 เหลี่ยม หรือ หน้าเหลี่ยม (อะล้อเล่น) ก็ขึ้นกับเลนส์ นั้นๆ ทำให้เราได้ภาพของส่วนที่เบลอ เป็นรูปทรง ตาม จำนวนใบของรูรับแสง |
ความรู้ตรงนี้เองที่ ถูกนำมาใช้ เพื่อให้เราสามารถสร้าง รูรับแสง ของเราเองได้ โดยการใช้ กระดาษสีดำเจาะรู เป็นรูปทรง ตามที่เราต้องการ ฉากหลัง ที่เคยเป็นโบเก้ กลมๆ หรือ เหลี่ยม ตามรูปทรงของรูรับแสง ก็ เปลี่ยนมาเป็น รูปทรงของระดาษที่เราตัด เหมือนเราย้ายรูรับแสง ออกมาอยู่นอกเลนส์ |
วิธีการตัดกระดาษ คือ ให้ ตัดรูปทรงใดๆ ให้แคบกว่า ขนาดรูรับแสงกว้างสุด แล้ววางไว้ตรงกึ่งกลางเลนส์ จากนั้นถ่ายภาพให้เกิดโบเก้ ซึ่งขนาดของรูรับแสงนี้ คำนวณ ได้จาก Focal Length / f กว้างสุด . เช่น ถ้าใช้เลนส์ 85 mm 1.8 ก็จะได้ 85 / 1.8 = 47.222 mm . ภาพที่เราจะตัดก็ให้ตัดเล็กกว่า วงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 47 mm และเนื่องจาก ปกติเราไม่สามารถวางกระดาษ ได้ตรงกลางเลนส์ พอดี จึงควรเผื่อขนาด ให้เส้นผ่านศูนย์กลาง เล็กลงมาอีกประมาณ 1-2 cm. ตามความเหมาะสม |
วิธีการถ่ายภาพ
1.ให้ เปิดหน้ากล้อง กว้างสุด วัดแสงโดยยังไม่มีกระดาษบัง |
ขอบคุณที่มาจาก : oknation.net & http://halfbottle.net/wp/photography/hello-bokeh/