มือใหม่หัดขายภาพ บทที่2 ลิขสิทธื์ภาพ

Trademark หรือ Copy right เหตุผลการปฏิเสธรูปของบริษัทขายภาพที่เหล่าช่างภาพมือใหม่หัดส่งขายทุกคนต่างเคยเจอกันมาบ่อยๆ บางคนนั่งซูมรูปดูหวังว่าจะเจอจุดที่ทำให้รูปสุดรักของตนต้องสอบ วันนี้ EC-Mall มาพาเพื่อนๆ มารู้จักเรื่องของลิขสิทธิ์ที่ทำให้รูปที่ทุกคนได้มาด้วยความลำบากผ่านปราการ Trademark/ Copy right ไปได้สบายใจหายห่วง

ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับคำว่า “ลิขสิทธ์” กันเสียก่อน ความหมายทางการของคำนี้คือ “สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย” แปลตามภาษาชาวบ้านคือเราสร้างสรรค์ผลงานหรือกดชัตเตอร์ถ่ายรูปลงการ์ดเมมโมรี่เมื่อไร รูปนั้นจะเป็นลิขสิทธ์ของเราโดยทันที ไม่ต้องลงลายน้ำหรือไปลงทะเบียนตามศูนย์ราชการแต่อย่างใด เมื่อเข้าใจเรื่องลิขสิทธ์เบื้องต้นแล้วเรามาดู 5 ข้อสุดแสบที่มือใหม่หัดขายภาพต่างโดนปฏิเสธเพราะเรื่อง Trademark และ ลิขสิทธ์กันดีกว่า

  1. Model Release (MR) ถ่ายคนทั้งทีต้องมีใบผ่านทาง

    เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินเรื่องของการถ่ายภาพพอตเทรตส่งขายต้องมี Model Release หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า MR โดยจะเป็นเอกสารอนุญาตใช้บุคคลในภาพเพื่อการค้าและโฆษณาได้ ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่ารูปที่ไม่เห็นหน้าแบบไม่จำเป็นต้องเอกสารพ่วงตามไปด้วย แต่ในความจริงแล้วนั้นรูปใดก็ตามที่สามารถบ่งบอกลักาณะเฉพาะตัวของตัวแบบได้ต้องมีใบ MR พ่วงติดรูปมาด้วยตลอด แต่ถ้าช่างภาพถ่ายบุคคลมาในทิศทางของภาพข่าวหรือ Editorial แล้วละก็ทางเหล่า Stock photo จะอนุญาตให้ผ่านเข้ารอบได้สะดวกเพราะถือว่าเป็นภาพที่ใช้ประกอบการเล่าข่าวเท่านั้น

  2. โลโก้นิดเดียวก็เสียวตกได้

    เชื่อว่าทุกคนต้องเคยผ่านมหกรรมส่องรูปแทบตายเพื่อหาว่าโลโก้สินค้าอยู่ส่วนไหนของรูป บางคนถึงขนาดเมล์กลับไปถามทางเว็บStock photo เลยทีเดียวว่าอยู่ไหน แต่รู้กันหรือไม่ว่าต่อให้ไม่มีโลโก้เลยในรูปแต่วัตถุดันสามารถระบุได้ทันทีว่าเป็นของค่ายหรือบริษัทไหนแล้วละก็เป็นอันจบไม่สวยทุกรูป ซึ่งการหลบเลี่ยงข้อครหานี้อยู่ที่การหามุมของคนถ่ายเป็นหลักว่าจะถ่ายอย่างไรให้บริษัทเขาดูไม่ออก

  3. รูปติด Exclusive ส่งที่ไหนก็สอบตก

    เป็นเรื่องที่หลายคนเคยตกม้าตายกันมาหลายรายแล้วที่เผลอไปกดรูปที่ส่งเป็น Exclusive ซึ่งจะเป็นการระบุว่ารูปนี้จะมีขายที่เว็บนี้เว็บเดียวเท่านั้นไม่มีแอบวางขายที่บ้านภรรยาน้อยที่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าผู้ถ่ายดันทะลึ่งไปส่งขายส่งขายเว็บอื่นก็จะโดนปฏิเสธทันที โดยเทคนิคที่มีประสบการณ์มักจะไม่กดเลือก Exclusive(ยกเว้นค่าย Getty Image ที่ควรกดเพราะราคารูปในเว็บแพงคุ้มค่าที่ลงขายมากๆ) โดยทางเทคนิคแล้วคนส่วนใหญ่จะส่งให้ Shutterstock หรือ Getty Image ก่อนที่จะส่งให้เว็บอื่นเพื่อความปลอดภัยในการโดนตีตกในเรื่องลิขสิทธ์ภาพ Exclusive

  4. งานอาร์ตงานศิลป์ถ่ายมาก็สอบตก

    เห็นหัวข้อแล้วหลายคนอาจหัวเราะเฮฮาว่าใครจะกล้าถ่าย แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีคนจำนวนมากถ่ายติดมาด้วยความตั้งใจและความไม่ระวัง เพราะงานศิลปะงานอาร์ตเกือบทุกชนิดมีลิขสิทธ์ในตัวของงานเหมือนกับภาพถ่ายของเราเช่นกัน ฉะนั้นแล้วเพื่อความปลอดภัยของสภาพจิตใจของตัวผู้ส่งเองต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษเพราะเพียงเศษเสี่ยวของงานเข้ามาก็สอบตกได้เช่นกัน

  5. สายหัวหมอดัดแปลงภาพฟรีเสี่ยงโดนแบนยาว

    สำหรับเหล่า Contributor หรือช่างภาพแล้วนั้นถือเป็นคดีร้ายแรงที่สุดในวงการมากที่สุด ถ้าเจ้าหน้าที่เว็บสต็อคโฟโต้ตรวจเจอมีสิทธ์โดนตัดตกหรือถึงขั้นริบงานที่ขายได้จนถึงขั้นแบนยาวหมดอนาคตขายในเว็บนั้นไปเลยก็ได้เพราะการนำรูปฟรีมาตัดต่อ เปลี่ยนแปลงหรือนำหลายๆรูปมาใส่ไว้ในรูปตัวเองนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธ์โดยแท้จริงไม่อิงนิยาย เพราะรูปฟรีพวกนี้ต่างก็มีลิขสิทธ์เหมือนกัน ใครอยากท้าทายอำนาจก็ลองทำกันดูแต่เป็นไปได้อย่าไปลองเลยไม่คุ้ม

อ่านจบไป 5 ข้อแล้วลองไปปรับใช้กับการถ่ายภาพของตัวเองกันดู EC-mall เชื่อว่าจะเป็นส่วนช่วยให้การ